“ผมเชื่อว่าน้องๆ หลายคนมีไอเดียดีๆ เยอะแยะไปหมด ผมเองเลยไม่อยากให้เครื่องมือมาเป็นข้อจำกัดในการทำงานของน้องๆ แต่อยากให้มันมาส่งเสริมเรา เพื่อที่จะได้สื่อสารไอเดียของเราออกมาให้เป็นภาพที่ชัดเจน”

แรงบันดาลใจในการเป็นอินฟลูสายสถาปัตย์

การมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในสายสถาปัตยกรรมของผมเริ่มต้นจากความสนใจในสายอาชีพนี้ตั้งแต่เด็ก ผมเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลังจากจบการศึกษา ผมก็ได้ทำงานเป็นสถาปนิกโดยตรงครับ ในระหว่างนั้น ผมยังได้สอนเป็นพี่ติวให้กับน้องๆ ที่ต้องการสอบเข้าเรียนคณะนี้ด้วย ซึ่งทำให้ผมมีประสบการณ์และความรู้สึกผูกพันกับการสอนมาตลอด

หลังจากที่ทำงานสถาปนิกได้สักพักหนึ่ง ผมเริ่มรู้สึกว่าอยากจะสร้างช่องทางในการสอนน้องๆ เกี่ยวกับการทำงานออกแบบผ่านคอมพิวเตอร์ ผมเห็นว่ามีปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่พบอยู่บ่อยๆ คือบางคนมีไอเดียที่อยากเล่าออกมา แต่ติดปัญหาเรื่องการใช้เครื่องมือในการสร้างสื่อกลางเพื่อสื่อสารความคิดของตนเอง

ในอดีต สายออกแบบต้องเรียนการวาดรูปและเขียนแบบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแนวความคิด แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือดิจิทัลมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการออกแบบได้หลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม บางคนยังขาดทักษะในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถนำเสนอผลงานตามที่ต้องการได้

ผมต้องการให้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยส่งเสริมการทำงานของนักออกแบบมากกว่าที่จะเป็นอุปสรรค ดังนั้น แนวคิดเริ่มต้นของผมคืออยากแชร์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี เพื่อให้ความรู้นี้กลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อมในการออกแบบและการทำงานให้ดียิ่งขึ้นครับ

ผมหวังว่าช่องของผมจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประโยชน์สำหรับน้องๆ และผู้ที่สนใจในสายสถาปัตยกรรม เพื่อให้ทุกคนสามารถนำเสนอไอเดียและผลงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ

ความแตกต่างในการทำพอร์ตโฟลิโอในยุคนั้นกับยุคนี้

ผมว่ารูปแบบจะไม่เหมือนกันแล้วครับ เมื่อก่อนพอร์ตโฟลิโอจะเป็นแบบแฟ้มสะสมผลงานของคุณจริงๆ แบบว่าเราเรียนวาดรูป ฝึกทำงาน เขียนเส้น หรือลงสีอะไรมาก็จะเก็บไว้เป็นแฟ้มอัลบั้ม ไม่ต้องมีระเบียบมากก็ได้ แต่ว่าเป็นผลงานที่ผ่านมา แล้วก็จะดูจากการคุยกัน ดูไหวพริบเวลาเข้าสัมภาษณ์

แต่ว่าปัจจุบัน รูปแบบมันเปลี่ยนไป พอร์ตโฟลิโอในบางสถาบันหรือมหาวิทยาลัยที่รับสมัคร จะต้องการเนื้อหามากขึ้น ต้องมีทั้งการออกแบบ การแสดงแนวความคิด และโปรดักชั่น เพื่อให้คณะกรรมการรู้ว่าผู้สมัครมีความพร้อมและมีศักยภาพในการเรียน ก็นี่มันก็ปี 2024 แล้วเนอะ เกณฑ์การทำพอร์ตโฟลิโอก็จะมีความเข้มงวดมากขึ้นด้วยครับ

การใช้ Coohom ในการทำพอร์ตโฟลิโอ

ผมว่าใช้ได้เลยนะครับ ตอนที่สอนจะมีน้องบางกลุ่มที่มีพื้นฐานดีแล้ว ใช้พวกโปรแกรมอะไรต่างๆ เป็นแล้ว กับอีกกลุ่มที่เพิ่งเริ่ม ยังไม่มีพื้นฐานในการออกแบบมาก่อน ซึ่งน้องๆ บางคนอาจจะยังสงสัยว่า ออกแบบห้องต้องวัดพื้นที่ด้วยเหรอ? ผมอยากจะแนะนำ Coohom เนื่องจากอินเทอร์เฟซหลักมันจะเป็นการออกแบบภายในที่เข้าถึงได้ง่าย มีอุปกรณ์และวัสดุต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย

จริงๆ ก็เห็นน้องๆ หลายคนก็ใช้ Coohom ในการนำเสนอผลงานอยู่นะครับ แต่อยากจะแนะนำโดยเฉพาะน้องๆ คนไหนที่สนใจทำงานออกแบบภายใน ให้ลองใช้ Coohom ดูครับ เพราะผมมองว่า Coohom เป็นโปรแกรมที่โดดเด่นเรื่องภาพที่สวยงามครับ ตัวโปรแกรมจะโชว์ภาพ 3D ที่เกือบสมบูรณ์แบบให้เราเห็นระหว่างการใช้งาน ทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น และทำให้เรานำเสนอไอเดียได้ชัดเจนขึ้น

อย่างโปรแกรมอื่นๆ เนี่ยเราจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างกล่องคร่าวๆ แต่ว่า Coohom เนี่ยมันทลายข้อจำกัดนั้นไป น้องๆ ไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้เยอะ ถ้าเคยเล่นเกมส์แต่งบ้านมาก่อน ผมรู้สึกว่าก็จะสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ของ Coohom ได้ง่ายขึ้นเยอะเลย เช่น เปลี่ยนสี ใส่แมตทีเรียล ใส่แพทเทิร์นอะไรพวกนี้ครับ ผมคิดว่า Coohom ตอบโจทย์น้องๆ ที่ทำพอร์ตโฟลิโอมากครับ

ผลงานจากคุณบอสที่ออกแบบผ่าน Coohom

ฟังค์ชั่นที่ชอบที่สุดใน Coohom

สำหรับแล้วผมนะครับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสเกลงานประเภทอินทีเรีย เพราะว่าตัวฟีเจอร์ที่รู้จักกันดีในยุคนี้ก็คือ AI ที่ช่วยเราสร้าง Layout และ Generate ไอเดียพร้อมกับรายละเอียดในงานได้ดี เหมือนกับว่าเราก็แค่กำหนดพื้นที่ ชื่อห้อง ประเภทห้อง แล้วก็ให้ AI generate ไอเดียออกมาได้หลากหลายดีไซน์ได้ในพริบตา แล้วเราก็นำไอเดียพวกนั้นมาเปรียบเทียบประกอบการตัดสินใจ เป็นการทำ Schematic design ที่สะดวกและรวดเร็วมากครับ 

ผมเคยลองใช้โปรแกรมหลายตัวนะครับ แต่ตัว Coohom จะพิเศษนิดนึง ตรงที่งานที่ AI เจเนอเรทออกมามันค่อนข้างสมเหตุสมผล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระยะ ขนาด การวางการใช้งาน ออกมาไม่แปลกหรือประหลาดเหมือนบางโปรแกรมที่ยัดทุกอย่างลงไปแต่ไม่ได้ใช้งานจริงได้เลย

ก็ประมาณนั้นครับ ในส่วนที่ Coohom จะมาช่วยงานได้จริงก็เป็นเรื่องนี้แหละครับ เป็นเหมือนเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเจนไอเดียใหม่ๆ หรือเจนความเป็นไปได้ที่มากขึ้น ผมใช้ทั้ง AI Template และ AI Image Generator ทั้งคู่เลยครับ

อยากจะแนะนำให้ใครรู้จัก

ถ้าตอบในฐานะของสถาปนิกนะครับ ก็คืออยากจะแนะนำให้บุคคลทั่วไป โดยเฉพาะลูกค้า อีกกลุ่มหนึ่งที่อยากแนะนำก็คือน้องๆ ที่อาจจะสนใจด้านการออกแบบ แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะชอบหรือเปล่า

น้องๆ ที่อยู่ในช่วงมัธยมปลาย มัธยมต้น อาจจะลองใช้ Coohom เพื่อดูว่าชอบการออกแบบไหม เพราะอย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าโปรแกรมนี้ใช้งานง่าย และมันทลายข้อจำกัดในการสื่อสาร เช่น บางครั้งเรามีไอเดียในหัว แต่สื่อสารออกมาไม่ได้เพราะไม่มีทักษะการวาดหรือเขียนแบบที่ดี

Coohom เนี่ยช่วยให้เราสื่อสารด้วยภาพได้ง่ายขึ้น พอเห็นออกมาเป็นภาพ ทุกคนก็จะเข้าใจตรงกัน และนี่ก็เป็นจุดเด่นของ Coohom ในเรื่องการแสดงภาพเสมือนจริง ดังนั้นอยากจะเชิญชวนให้ผู้ใช้งานทั่วไป โดยเฉพาะคนที่กำลังคิดจะจ้างสถาปนิก หรือแม้กระทั่งน้องๆ ที่อยากลองแต่งห้องด้วยตัวเอง ลองใช้ดู

การลองใช้ Coohom ในการจัดเลย์เอาท์ห้องนอนตัวเอง เช่น ลองเปลี่ยนเลย์เอาท์ห้องนอนของตัวเอง จะช่วยลดข้อจำกัดและทำให้เข้าใจการออกแบบได้ดีขึ้นครับ ผมคิดว่า Coohom เป็นประโยชน์มากในการช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสารทางด้านการออกแบบครับ

ผลงานจากคุณบอสที่ออกแบบผ่าน Coohom

สุดท้ายอยากฝากอะไรถึงผู้อ่าน

จริงๆ แล้วนะครับ ผมอยากให้ทุกคนลองมาเล่นเจ้าตัว Coohom ดูนะครับ เพราะว่าเหมือนตัวผมเองที่ได้ลองเล่นดูแล้ว เจอฟีเจอร์อะไรสนุกๆ เต็มไปหมดเลย

ตัวโปรแกรมนี้มีโหมดเรียลไทม์ที่เข้าใจง่ายๆ ใช้งานง่ายๆ และก็มีฟีเจอร์ขั้นสูงที่ทำให้ตรงกับมาตรฐานของชิ้นงาน เพื่อเสนอไปถึงขั้นทำแบบก่อสร้างได้เลยครับ ไม่ว่าจะโหมดไหนก็สามารถเอามาใช้งานได้เหมือนกัน

นอกจากนี้ ผมเองที่ได้เห็นทีม Coohom พัฒนาตัวโปรแกรมอยู่ตลอดเวลา ก็รู้สึกประทับใจและชื่นชม เพราะแพลตฟอร์มนี้ดูมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ถ้าเริ่มใช้งานแล้วก็ใช้งานกันได้ยาวๆ เลย

ส่วนตัวของผมตอนนี้ทำช่อง TikTok ไปติดตามกันได้นะครับที่ช่อง @bskilled.tips และเป็นติวเตอร์สอนเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึงติวเตอร์ด้านสถาปัตยกรรมด้วยครับ หวังว่า Coohom จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้น้องๆ และทุกคนที่สนใจการออกแบบได้ลองใช้และพัฒนาทักษะของตนเองครับ

หากท่านใดสนใจใช้แบบแผน Pro อย่าลืมใช้ code: BSKILLED55 พร้อมรับส่วนลดไปเลย 55%!

คุณบอส จาก B-skilled Academy